วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เส้นสายลายปักม้ง by ....channan

                                                                                               เส้นสายลายปักม้ง
                                                                                                โดย ชนันท์วิไล  ธงเชื้อ
 “หนูเอาแคเหราะมาฝ่า  อยากให้เธอได้กี ผะมีวิตามี ไม่ต้อกีขอแพ “ เป็นเสียงเพลงเด็กชาวเขาเผ่าม้งที่ใครๆก็ชื่นชอบและนึกถึงเด็กชาวเขาหนูน้อยที่มีการแต่งกายน่ารัก แก้มแดงๆเหมือนสีแครอทชาวเขา สวมกระโปรงจีบรอบมีลวดลายปักที่งดงามคงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวม้ง ลวดลายใครเห็นใครๆก็อยากได้ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทำให้มีผู้สนใจเกี่ยวกับม้งและชวนติดตามดังนี้
ประวัติและความเป็นมาของม้ง (History of the Hmong people)
               ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำ
ฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน กษัตริย์จีนในราชวงค์เหม็งได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการปราบปราม เพราะเห็นว่าม้งที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่แล้วรูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนรัสเซีย ทำให้คนจีนคิดว่า ม้งเป็นคนรัสเซีย จึงเป็นเหตุให้มีการปราบปรามม้งเกิดขึ้น โดยให้ชาวม้งยอมจำนน และยอมรับวัฒนธรรมของจีน และอีกประการหนึ่งคือเห็นว่า ม้งเป็นพวกอนารยชนแห่งขุนเขา (คนป่าเถื่อน) จึงได้มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในหลายแห่ง เช่น ในเมืองพังหยุนในปี พ.ศ.2009 และการต่อสู้ในมณฑลไกวเจาในระหว่าง พ.ศ. 2276 - 2278 และการต่อสู้ในมณฑลเสฉวนในระหว่าง พ.ศ. 2306 – 2318 ในที่สุด ชาวม้งประสบกับความพ่ายแพ้ สูญเสียพลรบ และประชากรเป็นจำนวนมาก ในที่สุดม้งก็เริ่มอพยพถอยร่นสู่ ทางใต้ และกระจายเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลับขึ้นอยู่บนที่สูงป่าเขาในแคว้นสิบสองจุไทย สิบสองปันนา และอีกกลุ่มได้อพยพไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรลาว บริเวณทุ่งไหหินเดียนเบียนฟู โดยมีหัวหน้าม้งคนหนึ่ง คือ นายพลวังปอ ได้ราบรวมม้ง และอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 เศษ เป็นต้นมา
                ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 151,080 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือม้งขาวและม้งเขียว
ม้งขาวเรียนตนเองว่า ม้งเด๊อว  และม้งเขียวเรียกตนเองว่า ม้งจั๊ว สำหรับการแต่งกายแล้วเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงชาติพันธุ์ที่ในกลุ่มคนแต่ละกลุ่มจะมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ดังคำที่กล่าวว่า
                ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่งเป็นคำพูดที่ติดปากที่ได้ยินกัน คนทุกคนทุกเผ่าพันธุ์ย่อมรักสวยรักงาม จึงมีการออกแบบและหาเครื่องแต่งกายมาประดับตกแต่งเสื้อผ้าตนเองให้สวยงาม ชาวเขาเผ่าม้งก็มีความคิดเช่นนี้เหมือนกันมีความเด่นชัดในเรื่องการปักผ้า เป็นศิลปะที่ทรงคุณค่าพูดว่า “ ผาชาวเขาเผ่าม้ง “
มีลวดลายปักเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรม มีความประณีตงดงาม ลวดลายปักบนผืนผ้าบ่งบอกถึง เรื่องราวของชนเผ่า การจินตนาการ และการคิดสร้างสรรค์ด้วยการร้อยเรียงเส้นด้ายเข้าด้วยกันพื้นฐานการปักผ้าชาวเขาเผ่าม้งที่มีการก่อกำเนิดงานมาจากหัวใจ ที่มีใจรักในงานปักผ้า มาตั้งแต่บรรพบุรุษและสืบทอดมายังลูกหลาน ลวดลายที่ปรากฏนอกจากมีความงดงามแล้วยังสะท้อนคิดถึงสถานภาพและวัยของผู้ใช้ เช่นวัยหนุ่มสาว จะใช้ผ้าที่มีลวดลายใหญ่ สีสดใส ส่วนวัยสูงอายุจะนิยมใช้ผ้าที่มีลวดลายเล็กๆ สีขรึมๆ ส่วนที่เกี่ยวกับลายผ้าในอดีตไม่มีการบอกไว้ว่าทำมาเมื่อไร อย่างไร เป็นการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานที่ให้เห็นเป็นรูปธรรม มีการพัฒนาต่อเนื่องกันมาช้านาน มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมของผู้ปักลวดลาย จึงมีลวดลายม้งเกิดขึ้นมากมาย
ลักษณะลวดลายม้ง
                จากความเชื่อด้านพิธีกรรมและความเชื่อในการดำเนินชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติที่ปรากฏบนลายผ้าปักม้งของชาวเขาเผ่าม้งมีการเรียกชื่อต่างกันตามสำเนียงภาษาท้องถิ่นเท่านั้นลวดลายส่วนใหญ่ได้มาจากธรรมชาติโดยเฉพาะชื่อพืชพรรณพฤกษา ชื่อจากสัตว์ ชื่อจากสิ่งแวดล้อม รอบๆตัว เช่น ภูเขา คน นก โดยแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคดั้งเดิมและยุคปัจจุบันซึ่งที่มาของลวดลายบนผืนผ้ามักมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้คือ เกิดจากอิทธิพลความเชื่อในด้านศาสนา ประวัติศาสตร์ เช่น ลายหนังสือม้ง ลายบันไดฟ้า ลายป่าหลง เป็นต้น เกิดจากอิทธิพลของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  เช่น ลายผีเสื้อ ลายปู ลายตานกฮูก ลายก้นหอย ลายดอกฟักทอง ลายดอกทานตะวัน ลายดอกบัว ลายภูเขา ลายเมฆไม้ ลายสายน้ำไหล แต่ปัจจุบันที่เห็นเด่นชัดลักษณะการปักผ้ามีลักษณะคล้ายปักผ้าคลอสติส คือปักไขว้แต่คงคล้ายรูปแบบเดิมมีการนำวัสดุมาตกแต่งเพื่อให้ดูงดงามมากขึ้น เช่น เหรียญเงิน ลูกปัด ไหมพรม และด้ายไหมเทียมสีต่างๆ เป็นการประยุกต์คิดสร้างสรรค์ เพื่อความงดงามในการสวมใส่ในการแต่งกาย  ในอดีตผ้าปักชาวขาวส่วนใหญ่จะใช้ผ้าไหมดิบที่ผลิตเองมาปักเป็นลวดลายต่าง ๆ ซึ่งลวดลายเหล่านี้ ม้งคิดค้นออกแบบของลวดลายเอง ปกติแล้วม้ง จะมีความประณีตในการคิดลวดลาย และการปักลวดลายต่าง ๆ ซึ่งจะเห็น ได้จากกระโปรงของม้งที่ทำจากผ้าบาติกกับผ้าปัก และเมื่อมีการปักลายเรียบร้อยแล้ว จะนำมาแปลรูปเป็นเสื้อผ้าที่จะส่วมใส่ในเทศกาลปีใหม่ หรือในวันสำคัญต่าง ๆ และสามารถที่จะประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้อย่างอื่นได้ เช่น ถุงย่าม กระเป๋าสะพาย กระเป๋าเป้ กระเป๋าใส่สตางค์ ถุงใส่โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้อื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งผ้าปักของม้งจะมีลวดลายที่แตกต่างกันไป และมีชื่อเรียกแตกต่างกัน และมีลักษณะรูปแบบการแปรรูปจากวัสดุธรรมชาติเป็นผ้าหลายชนิดดังเช่น 
ผ้าบาติกชาวเขาเผ่าม้ง
                ในอดีตม้งมีการนำผ้าไหมดิบที่ทอเองมาเขียนเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อที่จะทำเป็นกระโปรงของผู้หญิงม้ง ซึ่งผ้าไหมนั้นทำมาจากเปลือกของเส้นใยกัญชงที่แห้งสนิท จากนั้นจะนำมาฉีกออกเป็นเส้นเล็ก ๆ เพื่อที่จะได้เส้นด้ายที่มีขนาดเล็กเหมาะสมกับการทอผ้า ซึ่งทั่วไปจะนำเส้นใยกัญชง ที่แบ่งเป็น 4 ส่วน หรือแบ่งออกเป็นอีก 16-20 เส้น จากนั้นจะนำเส้นใยกัญชงไปตำในครกกระเดื่อง เพื่อให้เปลือกนอกที่หุ้มติดกับเส้นใยหลุดออกไป ให้เหลือแต่เส้นใยแท้ ๆ เท่านั้น เพราะเส้นใยกัญชงแท้จะมีความอ่อนตัว และสะดวก จากนั้นก็นำเส้นด้ายที่ปั่นเรียบร้อยแล้วมาทอเป็นผ้าไหมดิบ เมื่อทอเรียบร้อยแล้วก็จะนำมารีดด้วยก้อนหิน ซึ่งก้อนหินนี้ใช้สำหรับในการรีดผ้าไหมดิบเท่านั้น หากว่าไม่รีดให้เรียบแล้ว เวลานำผ้าไหมดิบมาเขียนเป็นลวดลายจะไม่สามารถเขียนได้ เนื่องจากมีปมของเส้นด้ายที่ต่อกันด้วย หากว่าไม่เรียบก็จะเขียนลวดลายได้ไม่สวยแล้วจึงนำมาจับจีบทั้งหมด  นำผ้าที่ปักเรียบร้อยมาต่อกับผ้าบาติก แล้วจัดกลีบให้ตรงกัน จากนั้นรอยจีบนั้นจะต้องเอาด้ายร้อยไว้แน่น เพื่อให้จีบสามารถอยู่ได้นาน และจัดตัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อถึงงานเทศกาล
ปีใหม่จะสามารถนำมาใช้ได้เลย เพราะหากว่ากระโปรงนั้นจับจีบไม่สวย ก็ใส่ไม่สวยเหมือนกัน ดังนั้นเมื่อจับจีบเรียบร้อยแล้วจะต้องเก็บ ประมาณ 1 เดือนเป็นอย่างน้อย เพื่อให้จีบคงทน และสวยงาม สามารถนำมาใช้สวมใส่ในประจำวันและมีการแต่งกายที่สวยงามในเทศกาลที่สำคัญ
การแต่งกายของม้ง
                อดีตผู้หญิงม้งขาวดั้งเดิมจะใส่ชุดม้งมีด้วยกัน 2 ชุดเท่านั้นคือจะประกอบด้วย ชุดที่มีเสื้อและกางเกง และอีกชุดก็จะ เป็นเสื้อและกระโปร่งสีขาว เท่านั้น
แบบชุดที่ 1 เสื้อสีดำแขนยาวปลายแขนเสื้อมีการปักลวดลายสวยงดงาม ด้านหน้าจะผ่ากลางปล่อยสาบเสื้อ ทั้งสองข้าง แล้วปักลวดลายพร้อมตกแต่งด้วยผ้าสีต่างๆ ส่วนกางเกงนั้นจะเป็นสีน้ำเงินหรือสีดำทรงจีน
แบบชุดที่ 2 เสื้อสีดำแขนยาวปลายแขนเสื้อมีการปักลวดลายสวยงดงาม ด้านหน้าจะผ่ากลางปล่อยสาบเสื้อ ทั้งสองข้างปักลวดลายและตกแต่งด้วยผ้าสีต่างๆ ด้านหลังตัวเสื้อจะติดปกเสื้อไว้ ม้งขาวนิยมเอา
ปกเสื้อ ด้านที่สวยไว้ข้างใน หากเวลาต้องการดูลายปกเสื้อนั้นจะต้องพลิกดู ส่วนกระโปร่งจะเป็นสีขาวล้วนจับจีบรอบหมวกม้งนิยมประดิษฐ์หมวกหลายแบบมากแต่จะทำในทรงเดียวกันหมดเพียงแต่เปลี่ยนสีสันเท่านั้น
                ชุดม้งดำดั้งเดิม    อดีตผู้หญิงม้งดำดั้งเดิมจะใส่ชุดม้งที่เป็นของเผ่าตัวเองเพียง 1 ชุดเท่านั้น ส่วนเสื้อมีการประดิษฐ์ขึ้นหลาย แบบ ผู้หญิงม้งดำไม่นิยมใส่กางเกง ส่วนมากแล้วนิยมใส่กระโปร่งมากกว่าพร้อมกับใช้ผ้าพันน่องขา
แบบเสื้อที่ 1 เสื้อสีดำแขนยาว ปลายแขนเสื้อจะมีการปักลวดลายอย่างสวยงาม ขอบแขนเสื้อจะมี การตกแต่งด้วยผ้าที่ต่างสีจากตัวเสื้อ นั้นคือจะเป็นผ้าสีฟ้า,ขาว ,เหลืองเป็นต้น ด้านหน้าของตัวเสื้อ จะมีการปล่อยสาบเสื้อปักเป็นลวดลายอย่างสวยงาม ด้านหลังเสื้อจะมีปกเสื้อที่ปักเป็นสีสันลวดลาย ต่างๆไว้ด้านหลัง นิยมโชว์ด้านที่ปักไว้ด้านนอก
แบบเสื้อที่ 2 เสื้อสีดำแขนยาว ปลายแขนเสื้อจะมีการปักลวดลายอย่างสวยงาม ขอบแขนเสื้อจะมี การตกแต่งด้วยผ้าที่ต่างสีจากตัวเสื้อ นั้นคือจะเป็นผ้าสีฟ้า,ขาว ,เหลืองเป็นต้น ส่วนด้านหน้าของเสื้อ จะมีการผ่ากลางไม่เท่ากัน ซึ่งด้านขวามือจะเหลือเนื้อที่ของผ้าเยอะกว่าเพื่อที่จะปักทำเป็นมุมต่าง ซึ่งการเย็บมุมต่างๆนั้นจะต้องสลับสีของผ้าด้วยเพื่อให้ได้มุมของเสื้อออกมาในรูปแบบที่สวยงาม ด้านหลังเสื้อจะมีปกอยู่ ซึ่งปกเสื้อจะมีการปักลวดลายไว้สายงาม และโชว์ด้านที่สวยไว้ข้างนอก เพื่อประชันความสามารถในการออกแบบปกเสื้อ แบบกระโปร่ง ซึ่งม้งดำนิยมทำกระโปร่งด้วยสีที่ฉูดฉาดสีสดใส อดีตนิยมสีแดง,ชมพู,แสด แต่ปัจจุบันนี้นิยมสีเขียว, ฟ้า , ม่วง เป็นต้น กระโปร่งนิยมจับเป็นจีบรอบทั้งกระโปร่งเลย แบบหมวกในอดีต
แบบหมวกที่ 1 ม้งดำนิยมใช้เศษผ้าลายสก๊อตร์ขาว-ดำ มาพันบนหัวให้เป็นวงรี ปลายทั้งสองข้างผ้า นั้นหนีบไว้ข้างในของยอดหมวก จะพันไปเรื่อยๆจนกว่าจะพอใจ
แบบหมวกที่ 2 ม้งดำนิยมใช้ผ้าสีดำโปร่งใส จากนั้นเกล้าผมไว้บนศีรษะแล้วเอาผ้าดำมาคลุม จากนั้น มัดใต้หมวกด้วยผ้าสีขาวหรือสีเหลืองตามแต่ความพอใจ  ชุดม้งดำ
ชุดม้งในปัจจุบัน
                 ซึ่งปัจจุบันม้งดำและม้งขาวไม่สามารถแยกได้ว่า ชุดไหนเป็นของม้งดำ ชุดไหนเป็นของม้งขาว เพราะว่าม้งขาวหันมานิยมใส่ชุดม้งดำ ทั้งม้งดำม้งขาวใส่ชุดม้งดำเหมือนกัน จึงเป็นสาเหตุในการจำแนกชุดยากขึ้น หากจะจำแนกม้งดำม้งขาวคงต้องฟังภาษาที่ใช้คงจะจำแนกตามชุดม้งไม่ได้แล้ว ชุดม้งที่แท้จริงมีลักษณะ อย่างไร ต้องมีสีสันแบบไหน ความละเอียด ความประณีตของลวดลายมีลักษณะอย่างไร อะไรเป็นผ้าปักในอดีตผ้าปักชาวขาวส่วนใหญ่จะใช้ผ้าไหมดิบที่ผลิตเองมาปักเป็นลวดลายต่าง ๆ ซึ่งลวดลายเหล่านี้ ม้งคิดค้นออกแบบของลวดลายเอง ปกติแล้วม้ง จะมีความประณีตในการคิดลวดลาย และการปักลวดลายต่าง ๆ ซึ่งจะเห็น ได้จากกระโปรงของม้งที่ทำจากผ้าบาติกกับผ้าปัก และเมื่อมีการปักลายเรียบร้อยแล้ว จะนำมาแปลรูปเป็นเสื้อผ้าที่จะส่วมใส่ในเทศกาลปีใหม่ หรือในวันสำคัญต่าง ๆ และสามารถที่จะประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้อย่างอื่นได้ เช่น ถุงย่าม กระเป๋าสะพาย กระเป๋าเป้ กระเป๋าใส่สตางค์ ถุงใส่โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้อื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งผ้าปักของม้งจะมีลวดลายที่แตกต่างกันไป และมีชื่อเรียกแตกต่างกัน  ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นการถูกกลืนของเทคโนโลยีทั้งนั้น จนไม่มีใครปฏิเสธเสน่ห์ของเทคโนโลยีได้มี แต่จะลุ่มหลงเสน่ห์ของมัน อย่างเพลิดเพลิน ความสะดวกสบาย รวดเร็ว ทันใจ ทันสมัย ไม่เชย เท่ห์ เก๋ บ่งบอกถึงฐานะทางการเงินของคนใช้ คงไม่มีใครเลยที่สามารถปฎิเสธมันได้ ต่างคนต่างจึงต้องปากกัด ตีนถีบ เพื่อให้ได้มา เทคโนโลยีก้าวหน้าเพียงใดมนุษย์ล้ำหน้าไปเท่านั้น ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีมานี้ ม้งได้พัฒนาเรื่องชุดม้งไปเรื่อยอย่างไม่มีทางหยุดยั้งได้ อีก5ปีม้งก็จะไม่มีชุดม้งที่แท้จริงได้ เพราะม้งมีการเปลี่ยนแปลงชุดอยู่ตลอดเวลา เราหันมาร่วมกันอนุรักษ์สิ่งต่างๆที่เป็นภูมิปัญญาของม้งกันเถอะ และเพิ่มมูลค่าให้กับลายปักชาวเขาที่ควรคลอยู่กับชาวเขาต่อไป
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลายปักม้ง
                เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุลักษณ์ลายปักชาวเขาควรมีการส่งเสริมสู่การจัดกิจกรรมการเยนการสอนโดยการปฏิบัติ โดยส่งเสริมโดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นคือลายปักชาวเขาเผ่าม้ง มาตกแต่งเป็นของใช้ของที่ระลึกอย่างหลากหลายเป็นการนำลายปักบนเสื้อผ้าที่เก่าไม่สวมใส่แล้วแต่ลวดลายปักยังคงความงดงาม ฝึกให้ผู้เรียนได้คิดเพิ่มมูลค่าโดยใช้ทักษะปฏิบัติชิ้นงานเริมสอนตั้งแต่ในห้องเรียนโดยใช้ประสบการณ์จริงของผู้เรียนนำลายปักชาวเขาเผ่าม้งไปประยุกต์ใช้ ให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อลายปักม้งและสร้างอาชีพสร้างลายได้จากลายปักม้งตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำรงชีวิตและเป็นอาชีพที่สร้างงานสร้างรายได้ต่อไปอย่างยั่งยืน

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.( 2543 ).
ผ้าชาวเขา บริษัท รำไทยเพลส  กรุงเทพฯ.
ไขศรี  จิตสำราญและคณะ . ( 2549 ) . ศึกษาความเป็นมาและความเชื่อ
ที่ปรากฏในลายปักบนผืนผ้า ของชาวเขาเผ่าม้ง บ้านเข็กน้อย
อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์.ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต
                สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภัคภิญญา  สดพิบาล.(2550). การออกแบบเสื้อสำเร็จสตรีด้วยผ้าปัก
ชาวเขาเผ่าม้ง.บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยจันทรเกษม
http://www.weloveshopping.com/shop/show_article.php?shopid=10639&qid=38939
www.maehongson-club.com หรือ www.แม่ฮ่องสอนคลับ.co.cc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น